วันอาทิตย์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บทที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ

บทที่ 4
เทคโนโลยีสารสนเทศ
เนื้อหา
          ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ องค์ประกอบของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ
แนวคิด
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) เป็นอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บ รวบรวม ประมวล เก็บรักษาและเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศ ประกอบด้วย 1) เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ได้แก่รวมทั้ง ฮาร์ดแวร์ (Hardware) และซอฟต์แวร์ (Software) และ 2) เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม
วัตถุประสงค์
1.    มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานและองค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
2.    มีความความรู้เข้าใจเกี่ยวกับวิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์และการสื่อสารในยุคต่างๆ
3.    อธิบายการเติบโตของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสู่บทบาททางสังคมได้

กิจกรรมระหว่างเรียน
1.       ให้นิสิตเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
2.       ร่วมวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
3.       ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
4.       เขียนใบงานผลกระทบจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
5.       ออกแบบและนำเสนอเทคโนโลยีสารสนเทศที่คาดว่าจะมีในอนาคต





1. องค์ประกอบของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
            พื้นฐานของเทคโนโลยีสารสนเทศสืบเนื่องมาจากการพัฒนาแบบก้าวกระโดดของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ ใยแก้วนำแสง ดาวเทียมสื่อสาร ระบบเครือข่าย ซอฟต์แวร์ และมัลติมีเดีย กอปรกับราคาของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่ถูกลง แต่มีขีดความสามารถในการทำงานที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้แนวโน้มการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้งานต่าง ๆ นั้นมีมากขึ้นเป็นลำดับ
          ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นอาจกล่าวได้ว่าประกอบขึ้นจากเทคโนโลยีสองสาขาหลักคือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม สำหรับรายละเอียดพอสังเขปของแต่ละเทคโนโลยีมีดังต่อไปนี้คือ
   1.2เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
           
 คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถจดจำข้อมูลต่าง ๆ และปฏิบัติตามคำสั่งที่บอก เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งให้ คอมพิวเตอร์นั้นประกอบด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ต่อเชื่อมกันเรียกว่า ฮาร์ดแวร์ (Hardware) และอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์นี้จะต้องทำงานร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือที่เรียกกันว่า ซอฟต์แวร์ (Software)(มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2546, 4)
            1)ฮาร์ดแวร์ ประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ อุปกรณ์รับข้อมูล อุปกรณ์ส่งข้อมูล หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำหลักและหน่วยความจำสำรอง
           -อุปกรณ์รับข้อมูล (Input) เช่น แผงแป้นอักขระ (Keyboard), เมาส์,  เครื่องตรวจกวาดภาพ (Scanner), จอภาพสัมผัส (Touch Screen), ปากกาแสง (Light Pen), เครื่องอ่านบัตรแถบแม่เหล็ก (Magnetic Strip Reader), และเครื่องอ่านรหัสแท่ง (Bar Code Reader)
          -อุปกรณ์ส่งข้อมูล (Output)  เช่น จอภาพ (Monitor), เครื่องพิมพ์ (Printer), และเทอร์มินัล                  
          -หน่วยประมวลผลกลาง จะทำงานร่วมกับหน่วยความจำหลักในขณะคำนวณหรือประมวลผล โดยปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยการดึงข้อมูลและคำสั่งที่เก็บไว้ไว้ในหน่วยความจำหลักมาประมวลผล
 -หน่วยความจำหลัก มีหน้าที่เก็บข้อมูลที่มาจากอุปกรณ์รับข้อมูลเพื่อใช้ในการคำนวณ และผลลัพธ์ของการคำนวณก่อนที่จะส่งไปยังอุปกรณ์ส่งข้อมูล รวมทั้งการเก็บคำสั่งขณะกำลังประมวลผล 
           -หน่วยความจำสำรอง ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลและโปรแกรมขณะยังไม่ได้ใช้งาน เพื่อการใช้ในอนาคต
             2) ซอฟต์แวร์ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญและจำเป็นมากในการควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ซอฟต์แวร์ระบบและซอฟต์แวร์ประยุกต์ ซอฟต์แวร์ระบบ มีหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในระบบคอมพิวเตอร์  และเป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์หรือฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ระบบสามารถแบ่งเป็น 3 ชนิดใหญ่ คือ
 -โปรแกรมระบบปฏิบัติการใช้ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์พ่วงต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ตัวอย่างโปรแกรมที่นิยมใช้กันในปัจจุบันเช่นUNIX,DOS, MicrosoftWindows
          -โปรแกรมอรรถประโยชน์  ใช้ช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในระหว่างการประมวลผลข้อมูลหรือในระหว่างที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างโปรแกรมที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน เช่น โปรแกรมเอดิเตอร์ (
Editor)
           -โปรแกรมแปลภาษา ใช้ในการแปลความหมายของคำสั่งที่เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจและทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ เป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อทำงานเฉพาะด้านตามความต้องการ ซึ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์นี้สามารถแบ่งเป็น 3 ชนิด คือ
            -ซอฟต์แวร์ประยุกต์เพื่องานทั่วไป เป็นซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้งานทั่วไป   ไม่เจาะจงประเภทของธุรกิจ ตัวอย่าง เช่น Word ProcessingSpreadsheet, Database Management เป็นต้น
          -ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน เป็นซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในธุรกิจเฉพาะ ตามแต่วัตถุประสงค์ของการนำไปใช้
           -ซอฟต์แวร์ประยุกต์อื่น ๆ เป็นซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นเพื่อความบันเทิง และอื่น ๆ นอกเหนือจากซอฟต์แวร์ประยุกต์สองชนิดข้างต้น ตัวอย่าง เช่น Hypertext, Personal Information Management และซอฟต์แวร์เกมต่าง ๆ เป็นต้น
          สำหรับกระบวนการการจัดการระบบสารสนเทศ เพื่อให้ได้สารสนเทศตามต้องการอย่างรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ และมีคุณภาพ จะเริ่มด้วยการคัดเลือก การจัดหา การวิเคราะห์เนื้อหา และการค้นคืนสารสนเทศ  ซึ่งกระบวนการจัดการหรือจัดทำสารสนเทศเพื่อให้สามารถผลิตสารสนเทศสนองความต้องการของผู้ใช้ได้นั้น จะประกอบด้วยกรรมวิธีประการ คือ การนำเข้าข้อมูล การประมวลผลข้อมูล และการแสดงผลข้อมูล และกระบวนการทั้ง ขั้นตอนนี้จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีด้านฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ทำงานร่วมกัน ดังแผนภาพต่อไปนี้คือ 
Text Box: การนำเข้าข้อมูล
   
การประมวลผลข้อมูล
 
การแสดงผลข้อมูล
ภาพประกอบ 4.1 กระบวนการจัดการระบบสารสนเทศ

1.2เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม
           
เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม ใช้ในการติดต่อสื่อสารรับ/ส่งข้อมูลจากที่ไกล ๆ เป็นการส่งของข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือที่อยู่ห่างไกลกัน ซึ่งจะช่วยให้การเผยแพร่ข้อมูลหรือสารสนเทศไปยังผู้ใช้ในแหล่งต่าง ๆ เป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วน และทันการณ์  ซึ่งรูปแบบของข้อมูลที่รับ/ส่งอาจเป็นตัวเลข (Numeric Data) ตัวอักษร (Text) ภาพ (Image) และเสียง (Voice) ตัวอย่าง เช่น การส่งข้อมูลต่าง ๆ ของยานอวกาศที่อยู่นอกโลกมายังเครื่องคอมพิวเตอร์บนโลก เพื่อทำการคำนวณและประมวลผล ทำให้ทราบปรากฏการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว
          เทคโนโลยีที่ใช้ในการสื่อสารหรือเผยแพร่สารสนเทศ ได้แก่ เทคโนโลยีที่ใช้ในระบบโทรคมนาคมทั้งชนิดมีสายและไร้สาย เช่น ระบบโทรศัพท์, โมเด็ม, แฟกซ์, โทรเลข, วิทยุกระจายเสียง, วิทยุโทรทัศน์ เคเบิ้ลใยแก้วนำแสง คลื่นไมโครเวฟ และดาวเทียม เป็นต้น
         สำหรับกลไกหลักของการสื่อสารโทรคมนาคมมีองค์ประกอบพื้นฐาน 3 ส่วน ได้แก่ ต้นแหล่งของข้อความ (Source/Sender), สื่อกลางสำหรับการรับ/ส่งข้อความ (Medium), และส่วนรับข้อความ (Sink/Decoder) ดังแผนภาพต่อไปนี้ คือ
Text Box: ต้นแหล่งข้อความ
   
สื่อกลาง
 
จุดรับข้อความ
ภาพประกอบ 4.2 กลไกหลักของการสื่อสารโทรคมนาคม

          นอกจากนี้ เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถจำแนกตามลักษณะการใช้งานได้เป็น 6 รูปแบบ ดังนี้ต่อไปนี้ คือ
1) เทคโนโลยีที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เช่น ดาวเทียมถ่ายภาพทางอากาศ, กล้องดิจิทัลกล้องถ่ายวีดีทัศน์, เครื่องเอกซเรย์ ฯลฯ
      2) เทคโนโลยีที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล จะเป็นสื่อบันทึกข้อมูลต่าง ๆ เช่น เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก, จานแสงหรือจานเลเซอร์, บัตรเอทีเอ็ม ฯลฯ
3) เทคโนโลยีที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล ได้แก่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์
                     4) เทคโนโลยีที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูล เช่น เครื่องพิมพ์, จอภาพ, พลอตเตอร์ ฯลฯ
5)  เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดทำสำเนาเอกสาร เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร, เครื่องถ่ายไมโครฟิล์ม
6) เทคโนโลยีสำหรับถ่ายทอดหรือสื่อสารข้อมูล ได้แก่ ระบบโทรคมนาคมต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์, วิทยุกระจายเสียง, โทรเลข, เทเล็กซ์ และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งระยะใกล้และไกลเทคโนโลยีสารสนเทศได้สร้างสิ่งใหม่ให้กับสังคมปัจจุบันที่เรียกว่าเป็นสังคม    ไร้พรมแดนหรือสังคมโลกาภิวัตน์ (Globalization) ไว้มากมาย เช่น อินเทอร์เน็ต (Internet),  ทางด่วนข้อมูล (Information Superhighway), ระบบทีวีตามความต้องการ (Video On Demand), การประชุมผ่านทางจอภาพ (Video Conference), พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce), ระบบการเรียนทางไกล (Tele Education), โทรเวช (Tele Medicine),  ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ไปรษณีย์ภาพ (Video Mail), โทรทัศน์แบบมีการโต้ตอบ (Interactive TV), ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (E-library), ห้องสมุดเสมือน (Virtual Library) เป็นต้น (รอม หิรัญพฤกษ์ 2544: 254-256)

2.วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ
          
วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศจากยุคอนาลอกสู่ยุคดิจิตอลนั้น มีความเป็นมาที่ยาวนานมากกว่าที่จะมาเป็นเทคโนโลยีที่ ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบันนี้ บางช่วงใช้เวลาในการค้นคิดนานเป็นพันปีโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง บางช่วงก็เร็วมาก หากสังเกตจะเห็นว่าในปัจจุบันการค้นคิดเทคโนโลยีเหล่านี้เปลี่ยนไปอย่างเร็วมากจนผู้ใช้แทบจะตามไม่ทัน ซึ่งความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยทำให้มองภาพในอนาคตของเทคโนโลยีเหล่านี้ได้
การวิวัฒนาทางด้านเทคโนโลยีแบ่งเป็น 2 ด้านที่ควบคู่กันมา คือ วิวัฒนาการทางด้านคอมพิวเตอร์และวิวัฒนาการทางด้านการสื่อสาร ซึ่งจะหมายรวมถึงลักษณะของข้อมูลหรือสารสนเทศที่ใช้ในการสื่อสาร รายละเอียดของวิวัฒนาการของแต่ละเทคโนโลยีสามารถศึกษาได้จากรูปภาพต่อไปนี้









ภาพประกอบ 4.3 วิวัฒนาการของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร
(ที่มา: Using information technology: A practical introduction to computers & communications หน้า 4-8)

          เมื่อมีความเข้าใจเกี่ยวกับวิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์และการสื่อสารในยุคต่าง ๆ แล้ว ควรมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะของข้อมูลหรือสารสนเทศที่ส่งผ่านระบบคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร ดังนี้
          ข้อมูลหรือสารสนเทศที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในระบบสื่อสาร เช่น ระบบโทรศัพท์ จะมีลักษณะของสัญญาณเป็นคลื่นแบบต่อเนื่องที่เราเรียกว่า
 "สัญญาณอนาลอกแต่ในระบบคอมพิวเตอร์จะแตกต่างไป เพราะระบบคอมพิวเตอร์ใช้ระบบสัญญาณไฟฟ้าสูงต่ำสลับกัน เป็นสัญญาณที่ไม่ต่อเนื่อง เรียกว่า "สัญญาณดิจิตอลซึ่งข้อมูลเหล่านั้นจะส่งผ่านสายโทรศัพท์ เมื่อเราต้องการส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังเครื่องอื่น ๆ ผ่านระบบโทรศัพท์ ก็ต้องอาศัยอุปกรณ์ช่วยแปลงสัญญาณเสมอ ซึ่งมีชื่อเรียกว่า "โมเด็ม" (Modem)

บรรณานุกรม
ครรชิต มาลัยวงศ์. (2538). ก้าวไกลไปกับคอมพิวเตอร์: สาระคอมพิวเตอร์ที่ข้าราชการต้องรู้. กรุงเทพฯ: ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ.
ทักษิณา สวนานนท์ และฐานิศรา เกียรติบารมี. (2546). พจนานุกรมศัพท์คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต (พิมพ์  ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: วี.ที.ซี. คอมมิวนิเคชั่น.
วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ. สืบค้น 19 กุมภาพันธ์ 2547จากhttp://www.uni.net.th/~08_2543/chap01/1.1.html.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). เอกสารการสอนชุดวิชา คอมพิวเตอร์เบื้องต้น หน่วยที่ 1-7 (พิมพ์ครั้งที่ 9). นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
รอม หิรัญพฤกษ์. (2544). แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21. ใน สารานุกรมไทย สำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (245-267). กรุงเทพฯ โครงการสารานุกรมไทยฯ.
ยืน ภู่วรวรรณ. ไอทีกับแนวโน้มโลก. สืบค้น 19 กุมภาพันธ์ 2547 จากhttp://thaidet.hypermart.net/comp/tech_it.html.
สุเมธ วงศ์พานิชเลิศ และนิตย์ จันทรมังคละศรี. (2538). สังคมสารสนเทศแห่งทศวรรษหน้า. สืบค้น 19 กุมภาพันธ์ 2547 จากhttp://www.info.tdri.or.th/library/quarterly/white-pp/wb14.htm.
สมเด็จพระเทพกับงานไอทีเฉลิมพระเกียรติ. (2538). ใน เทคโนโลยีสารสนเทศก้าวไกล เศรษฐกิจ
           ไทยมั่นคง (หน้า 3-7). กรุงเทพฯ: [.ป.ท.].
Jimba, S.W. (1999). Information technology and underdevelopment in the Third World,
 Library Review 48(2), 79-83.
Pintelon, L., Preez, N.D., and Puyvelde, F.V. (1999). Information technology: Opportunity for
 maintenance management. Journal of Quality in Maintenance Engineering, 5(1), 9-24.
Souter, D. (1999). The role of information and communication technologies in democratic
           Development. The Journal of Policy, Regulation and Strategy for Telecommunications Information and Media, 1(5), 405-417.
Whittaker, B. (1999). What went wrong? Unsuccessful information technology projects.
 Information Management & Computer Security, 7/1, 23-29.




















แบบฝึกหัด
บทที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ                                                      กลุ่มเรียน.................
รายวิชา  การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน                        รหัสวิชา 0026008
ชื่อ-สกุล....................................................................................รหัส..................................................

คำชี้แจง  จงตอบคำถามต่อไปนี้
1.      ให้นิสิตยกตัวอย่างอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศตามหัวข้อต่อไปนี้ อย่างน้อยหัวข้อละ 3 ชนิด แล้วแลกเปลี่ยนกันตรวจสอบกับเพื่อน
1)      การบันทึกและจัดเก็บข้อมูล                 
2)      การแสดงผล
3)      การประมวลผล                              
4)      การสื่อสารและเครือข่าย

2.       ให้นิสิตนำตัวเลขในช่องขวา มาเติมหน้าข้อความในช่องซ้ายที่มีความที่สัมพันธ์กัน
…… ซอฟต์แวร์ประยุกต์
1. ส่วนใหญ่ใช้ทำหน้าที่คำนวณ ประมวลผลข้อมูล
…… Information Technology
2. e-Revenue
…… คอมพิวเตอร์ในยุคประมวลผลข้อมูล
3. เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่นำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินการเกี่ยวกับสารสนเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้องแม่นยำ และความรวดเร็วต่อการนำไปใช้
……เทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วย
4.มีองค์ประกอบพื้นฐาน 3 ส่วน ได้แก่ Sender Medium และDecoder
……ช่วยเพิ่มผลผลิต เพิ่มต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการททำงาน
5. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการรับ-ส่งเอกสารจากหน่วยงานหนึ่งไปยังอีกหน่วยงานหนึ่งโดยส่งผ่านเครือข่าย

…… ซอฟต์แวร์ระบบ
6. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม และเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
…… การนำเสนอบทเรียนในรูปมัลติมีเดีย ที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองได้ตามระดับความสามารถ
7. โปรแกรมที่ทำหน้าที่ใช้ควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ภายในระบบคอมพิวเตอร์
…… EDI
8. โปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ จัดเป็นซอฟต์แวร์ประเภท
…… การสื่อสารโทรคมนาคม
9. CAI
……บริการชำระภาษีออนไลน์
10. ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น