วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

เด็กชายวัย 9 ขวบกับสิ่งที่เขาอยากทำก่อน "ตาบอดสนิท"




       เบน เพียซ เป็นเด็กชายชาวอเมริกันวัย 9 ขวบ เบนอาศัยอยู่กับครอบครัวในเมืองเดนตัน รัฐเท็กซัส 

       แม่ของเบนคลอดเบนออกมาก่อนกำหนด โดยตอนที่คลอดนั้น เบนมีอายุเพียง 23 สัปดาห์หรือยังไม่ถึง 6 เดือนด้วยซ้ำ ทำให้ตอนเกิดเบนมีน้ำหนักตัวที่น้อยมาก

       นี่คือสาเหตุที่ทำให้เบนป่วยเป็นโรคจอตาผิดปกติในทารกคลอดก่อนกำหนด หรือ โรคอาร์โอพี (Retinopathy of Prematurity) โดยจะเกิดกับทารกที่คลอดก่อนกำหนดและมีน้ำหนักแรกเกิดน้อย สาเหตุเกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดที่จอตา ทำให้เกิดพังผืดที่ตานั่นเอง ซึ่งจะส่งผลให้ภาวะสายตาเลือนราง และส่งผลร้ายแรงถึงขั้นตาบอด

ใช่แล้ว เบนกำลังจะตาบอด 
   
      เมื่อ 1 ปีที่แล้ว เบนไปพบกับจักษุแพทย์ และหมอก็ได้วินิจฉัยว่า ตามหลักการแพทย์ ตาของเบนได้บอดแล้ว แต่โชคยังพอเหลืออยู่บ้าง เพราะเบนยังพอมองเห็นได้ลางๆ แต่ก็กำลังจะบอดสนิทในเร็ววัน
    
      หลังจากที่เบนและครอบครัวได้รับรู้ผลการวินิจฉัยของหมอในวันนั้น พวกเขากลับมาบ้านและได้ลงมือทำสิ่งหนึ่ง
 



 
     นั่นคือ ลงมือจดสถานที่ที่เบนอยากไป
 เห็นด้วยตาของเขาเอง...ก่อนที่มันจะบอด
 สนิททั้งสองข้าง

     และนี่สถานที่ที่เบนอยากไปและสิ่งที่เบน
 อยากทำ

 - แคลิฟอร์เนีย เขาอยากเห็นสะพานโกลเด้น
 เกทและป่าเรดวูด
 - ลาสเวกัส
 - เยอรมัน เพราะแม่ของเขาเกิดที่นั่น
 - อยากดำน้ำ
 - กรีซ เบนอยากเห็นวิหารพาร์เธนอน
 - ญี่ปุ่น
 - กำแพงเมืองจีน
 - หอเอนปิซ่า / โคลอสเซียม อิตาลี
 - โรงงานผลิตของเล่น
 - เล่นไอซ์สเก็ต
 - เล่นสกี
 - เขารัชมอร์
 - ออสเตรเลีย
     
      ซึ่งแน่นอนว่าการจะไปครบทุกที่ที่เบนอยากไปนั้น ต้องใช้เงินจำนวนมหาศาล พวกเขาจึงค่อยๆ ออกเดินทางในที่ที่พอจะไปไหว โดยต้องแข่งกับเวลาก่อนที่เบนผู้เป็นที่รักของครอบครัวจะมองไม่เห็นอะไรอีกต่อไป


   
           โลกของแฮร์รี่พอตเตอร์  ฟลอริด้า                             เทพีเสรีภาพ

 

ลองขี่อูฐในเท็กซัส



สวนสนุก  Great Wolf Lodge ในเท็กซัส



เที่ยวสวนสนุกซิกแฟล็กในเท็กซัส



เที่ยวน้ำตกในโอกลาโฮม่า



ทดลองขับเครื่องบิน


เลโก้แลนด์ แคลิฟอร์เนีย



แกรนด์แคนยอน
   
 
     อ้างอิงhttp://www.dek-d.com/studyabroad/35776/

ทางเดินลับ ที่มีคนสร้างไว้ในบ้าน

อ้างอิง http://www.dek-d.com/board/view/3412240/

วันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บทที่ 8 การใช้สารสนเทศตามกฎหมายและจริยธรรม

บทที่ 8
การใช้สารสนเทศตามกฎหมายและจริยธรรม

เนื้อหา
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับข้อมูล สารสนเทศ ความหมายของข้อมูล สารสนเทศ ความสำคัญ ประเภท คุณสมบัติของสารสนเทศ ตลอดทั้งแหล่งสารสนเทศและทรัพยากรสารสนเทศ
แนวคิด
          เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความหมายของข้อมูล และสารสนเทศ เพื่อให้เห็นความแตกต่างระหว่างข้อมูลและสารสนเทศ ความสำคัญ ประเภท และคุณสมบัติของสารสนเทศ อีกทั้งแหล่งของสารสนเทศและทรัพยากรสารสนเทศ
วัตถุประสงค์
          1. เพื่อให้นิสิตได้เรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ
          2. เพื่อให้นิสิตได้เรียนรู้และเข้าใจในความแตกต่างระหว่างข้อมูลและสารสนเทศ
          3. เพื่อให้นิสิตได้เรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญ ประเภทของสารสนเทศ
          4. เพื่อให้นิสิตได้เรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับแหล่งสารสนเทศและทรัพยากรสารสนเทศ
กิจกรรมระหว่างเรียน
          1. นิสิตต้องศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลจากห้องสมุดด้วยตนเอง
          2. จัดให้มีกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษาในชั้นเรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
          3. นิสิตต้องทำรายงานประกอบการศึกษาเกี่ยวกับข้อมูล และสารสนเทศคนละ 1 หัวข้อ








1.      บทนำ
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ การรับวัฒนธรรมที่แฝงเข้ามากับแหล่งข่าวสารข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรมของมนุษย์ โดยเฉพาะบนเครือข่ายสารสนเทศซึ่งเป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงกันทุกมุมโลก การเปิดรับข่าวสารที่มาจากแหล่งข้อมูลดังกล่าวจึงขึ้นอยู่กับการตัดสินใจ และทัศนคติส่วนบุคคล การรับข้อมูลข่าว สารที่ไม่เหมาะสมส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมโดยเฉพาะ พฤติกรรมไม่พึงประสงค์ และมีแนวโน้มทำให้เกิดอาชญากรรม ปัญหาทางศีลธรรมและจริยธรรม เช่น อาชญากรรมบนเครือข่าย หรือ การกระทำผิดกฎหมายโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ อาชญากรรม ประเภท ได้แก่ จารกรรมข้อมูลทางราชการทหารและข้อมูลทางราชการลับ จาก กรรมทรัพย์สินทางปัญญาและข้อมูลด้านธุรกรรม จารกรรมเงิน และทำให้เกิดการติดขัดทางด้านพาณิชย์ การโต้ตอบเพื่อการ ล้างแค้น การก่อการร้าย เช่น ทำลายข้อมูล ก่อกวนการทำงานของ ระบบ และเสนอข้อมูลที่ผิดและการเข้าสู่ระบบเพียงเพื่อแสดงให้เห็นว่ามีความสามารถทำได้
นอกจากนี้ยังมีเปิดโอกาสให้เข้าถึงการพนัน เช่น มีบริการบ่อนกาสิโนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นจำนวนมาก กระจายอยู่ในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลกโดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ยุโรป และอเมริกาใต้ คล้ายบ่อนกาสิโนจริงในลาสเวกัสหรือมาเก๊า ผู้เล่นจะต้องมีบัตรเครดิตนานาชาติ เมื่อบริษัท ผู้ให้บริการได้ตรวจสอบบัญชีบัตรเครดิตของผู้เล่นถูกต้อง จึงให้ผู้เล่นซื้อวงเงินตามจำนวนที่ต้องการนำไปเล่นพนันได้ และมีการจ่ายเงินผ่านเครือข่ายโดยหลบเลี่ยงภาษีอีกด้วย
ปัญหาอีกประการหนึ่งคือ การแพร่ภาพอนาจารบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตซึ่งทำการควบคุมค่อนข้างยาก เนื่องจากศูนย์บริการมีมากมายหลายแห่งและมีผู้ใช้บริการทั่วโลก ทำให้ปัญหาขยายตัวไปได้อย่างรวดเร็ว และแทบจะไม่มีขอบเขต ยิ่งไปกว่านั้นผู้ใช้เครือข่าย สามารถนำภาพ ดังกล่าวมาดูได้โดยไม่จำเป็นต้องเปิดเผยตัว ซึ่งไม่อาจทราบว่ามีผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ดูภาพอนาจารเหล่านั้นอยู่หรือไม่ ก่อให้เกิดปัญหาพฤติกรรมทางเพศเบี่ยงเบน และเกิดการล่วงเกินทางเพศบนอินเตอร์ เช่น การส่งข้อความลามกผ่านอีเมล์ การสร้างโฮมเพจที่เต็มไปด้วยภาพนางแบบเปลือย การเปิดให้บริการค้าขายทางเพศ เป็นต้น

2. ผลกระทบองเทคโนโลยีสารสนเทศ
การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศจนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างกว่างขวางกลายเป็นยุคแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือยุคข้อมูลข่าวสาร ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์ชาติอย่าง มหาศาลนั้นหมายถึงก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงอะไรก็ตามย่อมมีผลกระทบต่อบุคคล องค์กร หรือสังคม ทั้งนี้สามารถจำแนกผลกระทบทั้งทางบวกและผลกระทบทางลบของการ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้ดังนี้
2.1 ผลกระทบทางบวก
     1) เพิ่มความสะดวกสบายในการสื่อสาร การบริการและการผลิต ชีวิตคนในสังคมได้รับความสะดวกสบาย เช่น การติดต่อผ่านธนาคารด้วยระบบธนาคารที่บ้าน (Home Banking) การทำงานที่บ้าน ติดต่อสื่อสารด้วยระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต การบันเทิงพักผ่อนด้วยระบบมัลติมีเดียที่บ้าน เป็นต้น
     2) เป็นสังคมแห่งการสื่อสารเกิดสังคมโลกขึ้น โดยสามารถเอาชนะเรื่องระยะทาง เวลา และสถานที่ได้ ด้วยความเร็วในการติดต่อสื่อสารที่เป็นเครือข่ายความเร็วสูง และที่เป็นเครือข่ายแบบไร้สายทำให้มนุษย์แต่ละคนในสังคมสามารถติดต่อถึงกันอย่างรวดเร็ว
                3) มีระบบผู้เชี่ยวชาญต่างๆ ในฐานข้อมูลความรู้ เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านที่เกี่ยวกับ สุขภาพและการแพทย์ แพทย์ที่อยู่ในชนบทก็สามารถวินิจฉัยโรคจากฐานข้อมูลความรู้ของผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางการแพทย์ในสถาบันการแพทย์ที่มีชื่อเสียงได้ทั่วโลก หรือใช้วิธีปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในระบบทางไกลได้ด้วย
                4) เทคโนโลยีสารสนเทศสร้างโอกาสให้คนพิการ หรือผู้ด้อยโอกาสจากการพิการทางร่างกาย เกิดการสร้างผลิตภัณฑ์ช่วยเหลือคนพิการให้สามารถพัฒนาทักษะและความรู้ได้ เพื่อให้คนพิการเหล่านั้นสามารถช่วยเหลือตนเองได้ ผู้พิการจึงไม่ถูกทอดทิ้งให้เป็นภาวะของสังคม 
                5) พัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยเกิดการศึกษาในรูปแบบใหม่ กระตุ้นความสนใจแก่ผู้เรียน โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการสอน (Computer-Assisted Instruction : CAI) และการเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์ (Computer-Assisted Learning : CAL) ทำให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในบทเรียนมากยิ่งขึ้น ไม่ซ้ำซากจำเจผู้เรียนสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้ด้วย ระบบที่เป็นมัลติมีเดีย นอกจากนั้นยังมีบทบาทต่อการนำมาใช้ในการสอนทางไกล (Distance Learning) เพื่อผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษาในชนบทที่ห่างไกล
                6) การทำงานเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น กล่าวคือช่วยลดเวลาในการทำงานให้น้อยลง แต่ได้ผลผลิตมากขึ้น เช่น การใช้โปรแกรมประมวลผลคำ (Word Processing)เพื่อช่วยในการพิมพ์เอกสาร การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบงานลักษณะต่างๆ 
                7) ผู้บริโภคได้รับประโยชน์จากการบริโภคสิ้นค้าที่หลากหลายและมีคุณภาพดีขึ้น ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้รูปแบบของผลิตภัณฑ์มีความแปลกใหม่และหลากหลายมากยิ่งขึ้น ผู้ผลิตผลิตสิ้นค้าที่มีคุณภาพ ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อได้ตามต้องการ และช่องทางทางการค้าก็มีให้เลือกมากขึ้น เช่น การเลือกซื้อสินค้าทางอินเตอร์เน็ตและการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

2.2  ผลกระทบทางลบ
      1) ก่อให้เกิดความเครียดขึ้นในสังคม เนื่องจากมนุษย์ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง เคยทำอะไรอยู่ก็มักจะชอบทำอย่างนั้นไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง แต่เทคโนโลยีสารสนเทศเข้าไปเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กร บุคคลวิถีการดำเนินชีวิตและการทำงาน ผู้ที่รับต่อการเปลี่ยนแปลงไม่ได้จึงเกิดความวิตกกังกลขึ้นจนกลายเป็นความเครียด กลัวว่า เครื่องจักรกลคอมพิวเตอร์ทำให้คนตกงาน การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาแทนมนุษย์ในโรงงานอุตสาหกรรมก็เพื่อลดต้นทุนการผลิต และผลิตภัณฑ์มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น จึงเป็นเหตุผลที่มีการเปลี่ยนแปลงการ ทำงานความ เปลี่ยนแปลงก่อให้เกิดความเครียด เกิดความทุกข์และความเดือดร้อนแก่ครอบครัวติดตามมา การดำเนินธุรกิจในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ ก่อให้เกิดสภาวะการแข่งขันที่รุนแรง การทำงานต้องรวดเร็ว เร่งรีบเพื่อชนะคู่แข่ง ต้องตัดสินใจอย่างรวดเร็วและถูกต้อง หากทำไม่ได้ก็จะทำให้หน่วยงานหรือองค์กรต้องยุบเลิกไป เมื่อชีวิตของคนในสังค เทคโนโลยีสารสนเทศต้องแข่งขัน ก็ย่อมก่อให้เกิดความเครียดสูงขึ้น
                2) ก่อให้เกิดการรับวัฒนธรรม หรือแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของคนในสังคมโลก การแพร่ของวัฒนธรรมจากสังคมหนึ่งไปสู่งสังคมอีกสังคมหนึ่งเป็นการสร้างค่านิยมใหม่ให้กับสังคมที่รับวัฒนธรรมนั้น ซึ่งอาจก่อให้เกิด ค่านิยมที่ไม่พึ่งประสงค์ขึ้นในสังคมนั้น เช่น พฤติกรรมที่แสดงออกทางค่านิยมของเยาวชนด้านการแต่งกายและการบริโภค การมอมเมาเยาวชนในรูปของเกมส์อิเล็กทรอนิกส์ ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาอารมณ์และจิตใจของเยาวชน เกิดการกลืนวัฒนธรรมดังเดิมซึ่งแสดงถึงเอกลักษณ์ของสังคมนั้นๆ
                3) ก่อให้เกิดผลด้านศิลธรรม การติดต่อสื่อสารที่รวดเร็วในระบบเครือข่ายก่อให้เกิดโลกไร้พรมแดน แต่เมื่อพิจารณาศิลธรรมของแต่ละประเทศ พบว่ามีความแตกต่างกัน ประเทศต่างๆ ผู้คนอยู่ร่วมกันได้ด้วยจารีตประเพณี และศิลธรรมดีงามของประเทศนั้นๆ การแพร่ภาพหรือข้อมูลข่าวสารที่ไม่ดีไปยังประเทศต่างๆ มีผลกระทบต่อความรู้สึกของคนในประเทศนั้นๆที่นับถือศาสนาแตกต่างกัน และมีค่านิยมแตกต่างกัน ทำให้เยาวชนรุ่นใหม่สับสนต่อค่านิยมที่ดีงามดั่งเดิม เกิดการลอกเลียนแบบ อยากรู้อยากเห็นสิ่งใหม่ๆ ที่ผิดศิลธรรม จนกลายเป็นสิ่งที่ถูกต้องในกลุ่มเยาวชน เมื่อเยาวชนปฏิบัติต่อๆ กันมาก็จะทำให้ศิลธรรมของประเทศนั้นๆ เสื่อมสลายลง
                4) การมีส่วนร่มของคนในสังคมลดน้อยลง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้เกิดความสะดวก รวดเร็วในการสื่อสาร และการทำงาน แต่ในอีกด้านหนึ่งการมีส่วนร่วมของกิจกรรมทางสังคมที่มีการพบปะสังรรค์กันจะมีน้อยลง สังคมเริ่มห่างเหินจากกัน การใช้เทคโนโลยีสื่อสารทางไกลทำให้ทำงานอยู่ที่บ้านหรือเกิดการศึกษาทางไกล โดยไม่ต้องเดินทางมีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างหัวหน้ากับลูกน้อง ระหว่างครูกับนักเรียน ระหว่างกลุ่มคนต่อกลุ่มคนในสังคมก่อให้เกิดช่องว่างทางสังคมขึ้น
                5) การละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างไม่มีขีดจำกัดย่อมส่งผลต่อการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล การนำเอาข้อมูลบางอย่างที่เกี่ยวกับบุคคลออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน ซึ่งข้อมูลบางอย่างอาจไม่เป็นจริงหรือยังไม่ได้พิสูจน์ความถูกต้องออกสู่สาธารณชน ก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลโดยไม่สามารถป้องกันตนเองได้ การละเมิดสิทธิส่วนบุคคล เช่นนี้ต้องมีกฎหมายออกมาให้ความคุ้มครองเพื่อให้นำข้อมูลต่างๆ มาใช้ในทางที่ถูกต้อง
                6)  เกิดช่องว่างทางสังคม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจะเกี่ยวช้องกับการลงทุน ผู้ใช้จึงเป็นชนชั้นในอีกระดับหนึ่งของสังคม ในขณะที่ชนชั้นระดับรองลงมามีอยู่จำนวนมากกลับไม่มีโอกาสใช้ และผู้ที่ยากจนก็ไม่มีโอกาสรู้จักกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศไม่กระจายตัวเท่าที่ควร ก่อให้เกิดช่องว่างทางสังคมระหว่างชนชั้นหนึ่งกับอีกชนชั้นหนึ่งมากยิ่งขึ้น
                7) เกิดการต่อต้านเทคโนโลยี เมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทต่อการทำงานมากขึ้น ระบบการทำงานต่างๆ ก็เปลี่ยนแปลงไป มีการนำเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้กันอย่างแพร่หลายในด้านต่างๆ เช่น ด้านการศึกษา การ สาธารณสุข เศรษฐกิจการค้า และธุรกิจอุตสาหกรรม รวมถึงกิจกรรมการดำเนินชีวิตด้านต่างๆ โดยที่ประชาชนของประเทศส่วนมากยังขาดความรู้ใจเรื่องของเทคโนโลยีสารสนเทศ เครือข่ายและคอมพิวเตอร์จึงเป็นเรื่องน่าเป็นห่วงอย่างมาก โดยเฉพาะในด้านการทำงาน คนที่ทำงานด้วยวิธีเก่าๆ ก็เกิดการต่อต้านการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ เกิดความรู้สึกหวาดระแวงและวิตกกังวล เกรงกลัวว่าตนเองด้อยประสิทธิภาพ จึงเกิดสภาวะของความรู้สึกต่อต้าน กลัวสูญเสียคุณค่าของชีวิตการทำงาน สังคมรุ่นใหม่จะยอรับในเรื่องของความรู้ความสามารถมากกว่ายอมรับวัยวุฒิ และประสบการณ์ในการทำงานเหมืนเช่นเดิม
                8) อาชญากรรมบนเครือข่าย ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดปัญหาใหม่ๆ ขึ้น เช่น ปัญหาอาชญากรรม ตัวอย่างเช่น อาชญากรรมในรูปของการขโมยความลับ การขโมยข้อมูลสารสนเทศ การให้บริการ สารสนเทศที่มีการหลอกลวง รวมถึงการบ่อนทำลายข้อมูลที่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ ในระบบเครือข่าย เช่น ไวรัสเครือข่ายการแพร่ข้อมูลที่เป็นเท็จ ก่อให้เกิดการหลอกลวง และมีผลเสียติดตามมาลักษณะของอาชญากรรมที่เกิดขึ้นจากฝีมือมนุษย์ที่รู้จักกันดีได้แก่ แฮกเกอร์ (Hacker)และแครกเกอร์ (Cracker) โดยเฉพาะแฮกเกอร์ คือ ผู้ที่มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายสามารถเข้าถึงข้อมูลของหน่วยงานสำคัญๆ โดยเจาะผ่านระบบรักษาความปลอดภัย แต่ไม่ทำลายข้อมูล หรือหาประโยชน์จากการบุกรุกคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น แต่ก็ถือได้ว่าเป็นอาชญากรรมประเภทหนึ่งที่ไม่พึงประสงค์ ส่วนแครกเกอร์ คือ ผู้ซึ่งกระทำการถอดระหัสผ่านข้อมูลต่างๆ เพื่อให้สามารถนำเอาโปรแกรม หรือข้อมูลต่างๆ มาใช้ใหม่ได้เป็นการกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ เป็นการลักลอกหรือเป็นอาชญากรรมประเภทหนึ่ง
                9) ก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ นับตั้งแต่คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในการทำงาน การศึกษา บันเทิง ฯลฯ การจ้องมองคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ มีผลเสียต่อสายตาซึ่งทำให้สายตาผิดปกติ มีอาการแสบตา เวียนศรีษะ นอกจากนั้นยังมีผลต่อสุขภาพจิต เกิดโรคทางจิตประสาท เช่น โรคคลั่งอินเตอร์เน็ต เป็นโรคที่เกิดขึ้นในคนรุ่นใหม่ลักษณะ คือ แยกตัวออกจากสังคมและมีโลกส่วนตัว ไม่สนใจสภาพแวดล้อมก่อให้เกิดอาการป่วยทางจิตคลุ้มคลั่งสลับซึมเศร้า อีกโรคหนึ่ง คือ โรคคลั่งช้อปปิ้งทางอินเตอร์เน็ต โดยเฉพาะการเสนอสินค้าทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ผ่านอินเตอร์เน็ตที่เรียกว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีลูกค้าสนใจเข้าไปช้อปปิ้งดูสินค้าต่างๆ ทวีความรุ่นแรงมากยิ่งขึ้นจนเป็นที่สนใจของจิตแพทย์ นอกจากนั้นการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ ก่อให้เกิดโรคอาร์เอสไอ (Repetitive Strain Injury : RSI) ซึ่งมีอาการบาดเจ็บเนื่องจากการใช้แป้นพิมพ์เป็นเวลานานๆ ทำให้เส้นประสาทรับความรู้สึกที่มือ และนิ้วเกิดบาดเจ็บขึ้นเมื่อใช้อวัยวะนั้นบ่อยครั้ง เส้นประสาทรับความรู้สึกเกิดเสียหายไม่รับความรู้สึกหรือรับน้อยลง

ในยุคของเทคโนโลยีสารสนเทศนี้ มนุษย์ได้รับประโยชน์มหาศาล และในขณะเดียวกันเทคโนโลยีก็ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีของชีวิตมนุษย์ และได้ก่อให้เกิดปัญหาสังคมขึ้นอย่างมากมาย การเรียนรู้เพื่อสร้างความเข้าใจในปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งนี้ก็เพื่อที่มนุษย์ดำรงอยู่ร่วมกับเทคโนโลยีใหม่นี้ได้อย่างชาญฉลาด การศึกษาหาแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งที่จะต้องทำควบคู่กันไปกับการใช้ประโยชน์กับเทคโนโลยี ประเด็นเรื่องจริยธรรมเป็นสิ่งสำคัญในการนำไปสู่ปัญหาและวิธีการแก้ปัญหา การสร้างวัฒนธรรมที่ดีในสังคมจะช่วยแก้ปัญหาสังคมเหล่านี้ได้ในระดับหนึ่ง และเมื่อปัญหามีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นก็มีความจำเป็นที่จะต้องใช้กฎหมายมาใช้บังคับ โดยในบทนี้จะกล่าวถึงมาตรฐานและกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่พึงรู้ประกอบด้วย

3 ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
          เราสามารถพิจารณาปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้จากการวิเคราะห์ทัศนคติต่อเทคโนโลยีสารสนเทศ ในมุมมองที่แตกต่างกัน ได้ดังนี้
          3.1 มุมมองว่าเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่มีไว้เพื่อให้มนุษย์บรรลุวัตถุประสงค์
      เมื่อมองว่าเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือ เครื่องมือบางอย่างก็มีประโยชน์มาก บางอย่างก็มีประโยชน์น้อย และบางอย่างก็ไม่มีประโยชน์ การเลือกใช้เครื่องมือจะส่งผลต่อวิธีการทำงานของมนุษย์ เช่น พฤติกรรมในการเขียนของผู้ใช้โปรแกรมประมวลผลคำ จะแตกต่างไปจากผู้ใช้กระดาษ และปากกา เป็นต้น
                ภายใต้มุมมองในลักษณะนี้ เราจะต้องวิเคราะห์และทำความเข้าใจถึงผลกระทบทางสังคมที่จะเกิดขึ้น จากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในชีวิตประจำวัน ยกตัวอย่างเช่นเราอาจต้องการหาคำตอบว่า การที่มนุษย์ใช้โทรศัพท์มือถือ ได้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือไม่มีความจำเป็นต้องจดจำหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ที่ต้องการติดต่อด้วยอีกต่อไป หรือเราอาจต้องการหาคำตอบว่า อินเตอร์เน็ตมีผลอย่าไรต่อการศึกษา หรือคำตอบจากคำถามที่ว่า โทรทัศน์วงจรปิดกระทบกับสิทธิส่วนบุคคลหรือไม่
                ในมุมมองที่ว่าเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือที่มีไว้เพื่อให้มนุษย์บรรลุวัตถุประสงค์นี้ ได้ถูกวิพากษ์ว่า เทคโนโลยีจะเป็นตัวกำหนดความคิดและการทำงานของมนุษย์ เป็นต้น
          3.2 มุมมองว่าเทคโนโลยีสารสนเทศและสังคมต่างก็มีกระทบซึ่งกันและกัน
                ภายใต้มุมมองแบบนี้ มีความเห็นว่าสังคมส่งผลกระทบต่อเทคโนโลยี ทั้งนี้โดยอาศัยแรงขับเคลื่อนทางวัฒนธรรม การเมือง และเศรษฐกิจ เป็นเหตุปัจจัยในการออกแบบเทคโนโลยียกตัวอย่างเช่น การออกแบบให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานหลาย ๆ งานได้ในขณะเดียวกัน มีผลมาจากประเด็นทางเศรษฐกิจ เพื่อให้ประหยัดทรัพยากรของหน่วยประมวลผลกลาง หรืออีกตัวอย่างหนึ่งได้แก่ กระแสความต้องการการสื่อสารที่รวดเร็วได้ผลักดันให้เกิดอินเตอร์เน็ตขึ้น
               ในขณะเดียวกันเทคโนโลยีสารสนเทศก็ได้ส่งผลกระทบต่อสังคมเช่นกัน การพัฒนาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี เช่นระบบอินเตอร์เน็ต ทำให้รูปแบบการติดต่อสื่อสารของสังคมเปลี่ยนแปลงไป ผู้คนจำนวนมากจะติดต่อกันด้วยอีเมล แทนการเขียนจดหมาย มีการติดต่อซื้อขายผ่านระบบอินเตอร์เน็ตมากขึ้น มีการใช่ล่อล่วงกันโดยใช้อินเตอร์เน็ตเป็นสื่อมากขึ้น
               ภายใต้มุมมองในลักษณะนี้จะมองว่าเทคโนโลยีสารสนเทศและสังคม ต่างก็มีอิทธิพลซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีก็เป็นผลมาจากกระบวนการที่ซับซ้อนและลึกซึ้งทางสังคมเช่นกัน
          3.3 มุมมองว่าเทคโนโลยีเป็นกลไกในการดำรงชีวิตของมนุษย์
                ภายใต้มุมมองในลักษณะนี้จะมองว่าเทคโนโลยีสานสนเทศจะเป็นกลไกสำคัญในการกำหนดชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ ยกตัวอย่างเช่น การติดต่อสื่อสารของมนุษย์ จะถูกกำหนดว่าเป็นสิ่งที่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีซึ่งในโลกนี้ก็มีเทคโนโลยีการสื่อสารอย่าหลายรูปแบบแต่เทคโนโลยีที่มีความเสถียร จะเป็นทางเลือกและมนุษย์จะใช้เป็นกลไกในการดำรงชีวิต ดังเช่น คนที่มีและคนที่ใช้โทรศัพท์มือถือ จะแตกต่างจากคนที่ไม่มีโทรศัพท์มือถือติดตัว การที่มีโทรศัพท์มือถือแสดงให้เห็นว่าเป็นคนที่สารมารถติดต่อได้สะดวก และเข้าถึงได้ง่ายกว่าคนที่ไม่มีโทรศัพท์มือถือติดตัว จะเห็นได้ว่ากลไรการดำรงชีวิตของคนที่ใช้โทรศัพท์มือถือ และไม่ใช้โทรศัพท์มือถือนั้นแตกต่างกัน เช่นเดียวกัน กลไรในการดำรงชีวิตของสังคมที่ใช้อินเตอร์เน็ต ก็จะแตกต่างจากสังคมที่ไม่ใช้อินเตอร์เน็ต เป็นต้น
                จากมุมมองต่าง ๆ ทั้งสามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เราสามารถนำมาพิจารณาปัญหาสังคมที่อาจจะเกิดขึ้นกับเทคโนโลยีสารสนเทศได้ ตลอดจนใช้สังเคราะห์สร้างความเข้าใจต่อปัญหาทางสังคมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นแล้วในสังคม ทั้งนี้ก็เพื่อประโยชน์ในการหาทางป้องกัน แก้ไข หรือบรรเทาปัญหาสังคมที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศต่อไป
                อย่างไรก็ตามการที่ตัดสินว่ากรณีใด เป็นสาเหตุของปัญหาสังคมนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเช่นเดียวกับวิธีการแก้ปัญหาเหล่านั้น ในแต่ละกรณีนั้นจะมีความซับซ้อนที่แตกต่างกันไป ยกตัวอย่างเช่น การแก้ปัญหาเด็กติดเกม ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญปัญหาหนึ่งในปัจจุบัน วิธีการแก้ปัญหาอาจจะมีหลากหลาย แต่วิธีการที่ยั่งยืนกว่าก็คือการสร้างความเข้มแข็งให้กับสมาชิกของสังคมที่จะไม่ลุ่มหลงกับเรื่องหนึ่งเรื่องใดมากเกินไป นากจากนั้นปัญหาของสังคมเหล่านี้ ยังมีความสัมพันธ์กับเรื่องของจริยธรรม วัฒนธรรม และการบังคับใช้กฎหมาย หรือมาตรฐานปฏิบัติแห่งสังคมนั้น ๆ อีกด้วย
                ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างการวิเคราะห์ปัญหาสังคม การล่อลวงกันทางอินเตอร์เน็ต โดยผ่านทางโปรแกรมที่สามารถโต้ตอบกันทันทีผ่านทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งโดยปกติโปรแกรมนี้มีไว้สำหรับให้ผู้ใช้ติดต่อส่งข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน ซึ่งบุคคลที่เราติดต่อด้วยนั้นพึงเป็นบุคคลที่เรารู้จัก เรื่องราวที่ติดต่อกันน่าจะต้องเป็นเรื่องที่ดีมีประโยชน์ การวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารก็เป็นหน้าที่ของผู้รับข้อมูลข่าวสาร ผู้ใช้พึงกลั่นกรองข้อมูลข่าวสารที่ได้รับให้ดี การเข้าไปมีความรู้สึกลุ่มหลงโดยปราศจากการไตร่ตรอง อาจเป็นสารเหตุที่ทำให้ถูกล่อลวงได้ ในกรณีที่ผู้ใช้เป็นเด็ก ผู้เกี่ยวข้องจะต้องพิจารณาว่าถึงวัยอันควรแล้วหรือยังที่เด็กจะได้รับอนุญาตให้ใช้โปรแกรมเหล่านี้ได้ การสร้างถูมิคุ้มกันในตัวเด็กให้แข็งแรง ด้วยการให้ความรับ ความเอาใจใส่จะช่วยบรรเทาปัญหาในลักษณะนี้ได้
                ในบางครั้งอาจมีการเสนอให้ยกเลิกการใช้เทคโนโลยีที่ก่อให้เกิดปัญหา ข้อเสนอนี้อาจใช้ไม่ได้กับกรณีของเทคโนโลยีสารสนเทศ มนุษย์ได้ใช้เทคโนโลยีนี้เป็นกลไรส่วนหนึ่งของชีวิตไปแล้ว การหยุดหรือถอยกลับเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก เพราะเทคโนโลยีสารสนเทศเองก็มีประโยชน์มหาศาลดังนั้นจะไม่มีทางเลือกอื่นอีกต่อไปแล้ว นอกจากจะสร้างภูมิคุ้มกันให้กับสมาชิกในสังคมของเราให้สามารถดำรงชีวิตอยู่กับเทคโนโลยีสารสนเทศอย่าชาญฉลาดและรู้เท่าทันภัยจากเทคโนโลยีเหล่านี้เท่านั้น
                อีกไม่นานประเทศไทยประชาชนทั้งหลายจะได้ใช้บัตรประชาชนไฮเทค บรรจุไมโครชิปขนาดเล็กกว่าเล็บหัวแม่โป้ง แต่อัดแน่นไปด้วยข้อมูลส่วนตัวของบุคคลนั้นและการโจรกรรมข้อมูลอันเป็นความลับก็เป็นเรื่องที่บุคคลต้องประสารเช่นเดียวกัน

4. แนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
          ดังที่กล่าวมาบ้างแล้วว่าเราไม่สารมารถถอยห่างจากเทคโนโลยีสารสนเทศได้ ยิ่งนับวันเทคโนโลยีสานสนเทศ จะเข้ามามีบทบาทในชีวิตมายิ่งขึ้น ทุกวันนี้มนุษย์ได้แปลงปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เป็นปัญหาของตน ให้มาอยู่ในรูปแบบที่เป็นปัจจัยนำเข้าของระบบคอมพิวเตอร์แล้วเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งข้อมูลปัจจัยนำเข้าในลักษณะต่าง ๆ เหล่านั้นจะถูกประมวลผลให้เป็นสารสนเทศที่มนุษย์นำไปสร้างเป็นความรู้เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป อย่างไรก็ตามในสังคมทุกสังคมต่างก็มีคนทีและคนชั่วปะปนกัน เมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและกานสื่อสาร เป็นประโยชน์ได้มากเพียงใด ก็สามารถถูกกำหนดหรือสร้างให้เป็นโทษได้มากเพียงนั้น การป้องกันภัยและการแก้ปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยีสารสนเทศจะเป็นเรื่องที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากสมาชิกในสังคมอย่าจริงจัง ในที่นี้จะเสนอแนวทางบางประการที่น่าจะช่วยลดปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศลงได้บ้าง
          4.1 ใช้แนวทางสร้างจริยธรรม (Ethic) ในตัวผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแนวทางนี้มีหลักอยู่ว่าผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ จะระมัดระวังไม่สร้างความเดือดร้อนเสียหายต่อผู้อื่น และในขณะเดียวกันยังตั้งใจที่ทำกิจกรรมจะเสริมสร้างคุณงามความดี และเป็นประโยชน์อยู่เสมอ ในขณะเดียวกันผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ พึงทำการศึกษาหาความรู้ว่ากิจกรรมประเภทใดเป็นสิ่งดีมีประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์ และกิจกรรมประเภทใดสามารถสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่นได้
          4.2 สร้างความเข้มแข็งให้กับตนเอง ผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศพึงรำลึกอยู่เสมอว่าในสังคมของเราวันนี้ยังมีคนไม่ดีปะปนอยู่มากพอสมควรเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเพียงเครื่องมือที่จะอำนวยความสะดวกเท่านั้น หากผู้ใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ในทางที่ไม่ดี เทคโนโลยีก็ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมที่ไม่ได้ ไม่เป็นที่พึงปรารถนาให้รุนแรงขึ้นได้ การสร้างความเข้มแข็งให้กับตนเอง ไม่ลุ่มหลงต่อกิจกรรมหนึ่งกิจกรรมใดจนมากเกินไป ตลอดจนการคิดไตร่ตรองให้รอบคอบ ถือว่าเป็นข้อปฏิบัติที่จำเป็นในยุคของเทคโนโลยีสารสนเทศนี้
          4.3 ใช้แนวทางการควบคุมสังคมโดยใช้วัฒนธรรมที่ดี แนวทางนี้มีหลักอยู่ว่าวัฒนธรรมที่ดีไว้ เป็นสิ่งจำเป็นในยุคสารสนเทศ ยกตัวอย่างเช่น การให้เกียรติซึ่งกันและกัน ยกย่องในผลงานของผู้อื่น เป็นวัฒนธรรมที่ดีและพึงปฏิบัติในยุคสารสนเทศ ที่ผู้ใช้ข้อมูลสารสนเทศของผู้อื่นพึงให้เกียรติแหล่งข้อมูล ด้วยการอ้างอิงถึง (Citation) เมื่อนำผลงานของผู้อื่นมาใช้ประโยชน์
          4.4 การสร้างความเข้มแข็งให้กับสังคมชุมชน ผู้รับผิดชอบในการจัดการด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและสมาชิกของสังคมพึงตระหนักถึงภัยอันตรายที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีสารสนเทศแหลหาทางป้องกันภัยอันตรายเหล่านั้น ยกตัวอย่างเช่น การติดตั้งระบบเพื่อกลั่นกรองข้อมูลที่ไม่เหมาะสมกับเด็กและเยาวชน การให้ความรู้เรื่องภัยอันตรายจากอินเทอร์เน็ตต่อสังคม การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารภัยอันตรายที่มากับเทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนการค้นคว้าวิจัยเพื่อหาความรู้ที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม ทั้งนี้ก็เพื่อให้สังคมมีความเข้มแข็งและสามารถดำรงอยู่กับเทคโนโลยีได้อย่างยั่งยืน
          4.5 ใช้แนวทางการเข้าสู่มาตรฐานการบริหารจัดการการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ในปัจจุบันองค์กรต่าง ๆ ได้นำเสนอมาตรฐานที่เกี่ยวกับการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ถึงแม้ว่าเจตนาเดิมของมาตรฐานเหล่านี้จะอำนวยประโยชน์ให้กระบวนการด้านการบริหารงาน แต่เนื่องจากมาตรฐานต่าง ๆ เหล่านี้ได้ผ่านการพิจารณาไตร่ตรองอย่างดีจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ส่งผลทำให้แนวทางการเข้าสู่มาตรฐานหลายประการสามารถช่วยลดภัยอันตรายจากเทคโนโลยีสารสนเทศได้ ยกตัวอย่าเช่น มาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในการประกอบธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ISO/IEC 17799) มีการกำหนดเรื่องความมั่นคงปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับบุคลากร ความมั่นคงปลอดภัยทางด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อมขององค์กร การควบคุมการเข้าถึง และการปฏิบัติตามข้อกำหนดทางด้านกฎหมาย เป็นต้น การศึกษาแนวทางการเข้าสู่มาตรฐานและการนำไปปฏิบัติจะสามารถช่วยลดภัยอันตรายจากเทคโนโลยีได้ในระดับหนึ่ง
          4.6 ใช้แนวทางการบังคับใช้ด้วยกฎ ระเบียบ และกฎหมาย ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศอาจจะรุนแรง และไม่สามารถแก้ปัญหาด้วยวิธีการอื่น การกำหนดให้ปฏิบัติตามจะต้องระบุข้อกำหนดทางด้านกฎหมาย และบทลงโทษของการละเมิด เป็นสิ่งจำเป็นผู้บริหารระบบสารสนเทศจะต้องระบุข้อกำหนดทางด้านกฎ ระเบียบ ข้อบังคับบทลงโทษ หรือสัญญา ที่จะต้องปฏิบัติตาม เพื่อป้องกันปัญหาสังคมที่จะมากับเทคโนโลยีสารสนเทศ ยกตัวอย่างเช่น การปฏิบัติตามข้อกำหนดทางลิขสิทธิ์ ในการใช้งานทรัพย์สินทางปัญญา การป้องกันข้อมูลส่วนตัวของพนักงาน เป็นต้น
          จะสังเกตได้ว่าแนวทางในการแก้ปัญหาทั้งหมดที่กล่าว จะเริ่มจากการแก้ปัญหาที่ตัวปัจเจกบุคคล จากนั้นจะพิจารณาแก้ปัญหาด้วยวิธีการในการสร้างวัฒนธรรมที่ดีในสังคม ก่อนที่จะใช้วิธีการบังคับด้วยกฎหมาย ซึ่งจะใช้กับปัญหาที่รุนแรง อย่างไรก็ตามวิธีการแก้ปัญหาด้วยการบังคับใช้กฎหมายนั้น จะไม่ยั่งยืน ผิดกับแนวทางในการสร้างจริยธรรมในหมู่ผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศโดยตรง ซึ่งในตอนถัดไปจะกล่าวถึงจริยธรรม และกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยี

5.ประเด็นพิจารณาการใช้จริยธรรมเพื่อแก้ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
          5.1 ผลกระทบจากเทคโนโลยีสารสนเทศ และทฤษฎีเรื่องจริยธรรม
                ในปัจจุบันยังมีข้อถกเถียงกันเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในเรื่องที่เกี่ยวกับ ค่านิยม จุดยืน และสิทธิที่บุคคลพึงมีพึงได้ ตัวอย่างเช่น ข้อถกเถียงที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบจากการใช้กล้องวงจรปิด การใช้คุกกี้ในอินเทอร์เน็ต ต่อสิทธิในเรื่องความเป็นส่วนตัวของมนุษย์ หรือข้อถกเถียงในเรื่องผลกระทบจากความแตกต่างในเรื่องชนชั้นทางสังคม ต่อสิทธิในการเข้าถึงข้อมูล เช่น โอกาสในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของนักเรียนในชนบท หรือในกรณีข้อถกเถียงในเรื่องการใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ ต่อเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น
                ข้อถกเถียงในเรื่องของจริยธรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นข้อโต้เถียงเพื่อที่จะหาสมดุล ระหว่างจุดยืน ค่านิยม และสิทธิ ซึ่งสมดุลเหล่านี้ย่อมแตกต่างไปตามสภาพของแต่ละสังคมยกตัวอย่างเช่น เราจะใช้แนวทางใดเพื่อปกป้องเยาวชนของเราเมื่อพวกเขาเข้าสู่สังคมอินเทอร์เน็ตแนวทางที่กำหนดขึ้นนี้มีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลอย่างไร หรืออาจจะเป็นข้อถกเถียงในลักษณะแนวนโยบายในการคุ้มครองผู้ผลิตสินค้าดิจิตอลที่มีผลต่อสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกำลังกำซื้อและการใช้สินค้าไอที เป็นต้น
         
5.2 เทคโนโลยีสารสนเทศกับจริยธรรมและการเมือง
                จากมุมมองที่ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศและสังคมต่างก็ส่งผลกระทบซึ่งกันและกัน ได้สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ มีผู้วิเคราะห์ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศถูกสร้างขึ้นโดยสังคม จึงถูกแฝงประเด็นทางการเมืองและเศรษฐกิจอย่างแยบยล ดังเช่น การสร้างภาพของพระเอกหรือผู้ร้ายในภาพยนตร์ หรือการเกิดของกระแสโอเพนซอร์สเพื่อคานอำนาจกับซอฟต์แวร์ให้สิทธิการใช้ เป็นต้น การสร้างจริยธรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในแต่ละสังคมจะต้องให้ความสำคัญในเรื่องเหล่านี้ไว้ด้วย
                ผู้ผลิตเทคโนโลยีสารสนเทศควรจะคำนึงถึงผลกระทบทางด้านจริยธรรมและการเมืองไว้ด้วย ยกตัวอย่างเช่น เครื่องเอทีเอ็มที่ออกแบบมาเพื่อให้ใช้ได้กับคนปกติได้แต่ไม่สารมารถใช้งานได้กับคนตาบอด หรือคนพิการที่อยู่บทรถเข็น หรือคนที่มีปัญหาในการจำ ผลจากการออกแบบตู้เอทีเอ็มอย่างทุกวันนี้ ทำให้คนบางกลุ่มไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ กรณีนี้จะเป็นการจำกัดสิทธิที่บุคคลพึงมีพึงได้ และจะเป็นปัญหาทางด้านจริยธรรม ที่อาจส่งผลกระทบทางด้านการเมืองหรือไม่ เป็นกรณีศึกษาที่พึงพิจารณา
          5.3 เทคโนโลยีสารสนเทศกับจริยธรรมและความเป็นมนุษย์
      นอกจากกรณีของเรื่องทัศนคติ อารมณ์ความรู้สึก ที่มีต่ออุปกรณ์หรือเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมและการเมืองดังที่กล่าวมาแล้ว ความเกี่ยวข้องกับจริยธรรมและความเป็นมนุษย์ ก็มีส่วนสำคัญอย่างมากโดยเฉพาะในกรณีของการเปลี่ยนแปลงสภาพสังคมในเรื่องของโลกเสมือนจริง (virtuality)
      สภาวะของโลกเสมือนจริงในที่นี้ หมายถึงสถานะของการโต้ตอบกันผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ หรือระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักร
      เครือข่ายใยแมงมุม (World Wide Web) หรือที่รู้จักกันว่าโลกไซเบอร์ (Cyberspace) เป็นตัวอย่างของการโต้ตอบกัน ในโลกเสมือนจริง โดยเมื่อเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเจริญมากขึ้น มีการพัฒนาระบบต่างๆ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวันของมนุษย์ ในขณะเดียวกันก็จะส่งผลกระทบกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์มากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้มีการรวมกลุ่มหรือมีการสร้างสังคมรูปแบบเสมือนจริง ในกลุ่มของผู้สนใจหรือมีแรงปรารถนา (passion) ในสิ่งเดียวกันมากขึ้น ตัวอย่างเช่น ชุมชนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต (Cyber Community) การศึกษาแบบเสมือนจริง (Virtual Education) การมีมิตรภาพแบบเสมือนจริง (Virtual Friendships) องค์กรแบบเสมือนจริง (Virtual Organizations) และอื่นๆ
      ผู้คนที่อยู่ในสังคมแบบเสมือนจริงนี้ จะมีการติดต่อสื่อสารโต้ตอบกันแบบเสมือนจริง ก่อให้เกิดสังคมรูปแบบใหม่ในโลกไซเบอร์ ซึ่งพบว่าในสังคมรูปแบบใหม่นี้ยังมีการแบ่งกลุ่ม และอาจมีการแบ่งเป็นกลุ่มย่อยๆ ลงไป มีการติดต่อสื่อสารกัน หากในกลุ่มใดยังมีผู้สนใจในเรื่องเดียวกันอย่างต่อเนื่องจำนวนมากพอ การติดต่อสื่อสารกันในช่วงระยะเวลาหนึ่งก็จะก่อให้เกิดเป็นชุมชน (Community) ขึ้นมา โดยชุมชนที่เกิดขึ้นนี้อาจจะอยู่ในรูปแบบของชุมชนแบบเสมือนจริง (Virtual Communities) ต่อไปหรืออาจจะแปลงเป็นชุมชนจริงๆ (Real Communities) ขึ้นมาก็ได้ หรืออาจก่อให้เกิดชุมชนจำลอง (Pseudo Communities) หรืออาจจะเป็นสิ่งใหม่อื่นๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมเลยก็เป็นไปได้
      ในโลกเสมือนจริง การโต้ตอบสื่อสารผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ สามารถที่จะสร้างหรือกำหนดตัวตนขึ้นมาในโลกเสมือนได้อย่างไร้พรมแดน ผู้คนสามารถสร้างตัวตนในโลกเสมือนได้ไม่จำกัด โดยสร้างหรือแสดงให้ผู้อื่นจินตนาการหรือคิดให้ตัวตนใหม่นี้เป็นอย่างไรก็ได้ตามที่กำหนด โดยตัวตนที่แท้จริงอาจถูกซ่อนเร้นไว้ ดังตัวอย่างเช่น คนไม่สวยอาจถูกทำให้เข้าใจว่าเป็นคนสวย คนอ้วนอาจถูกทำ
ให้เข้าใจว่าเป็นคนหุ่นดี อย่างไรก็ตามภายใต้โลกเสมือนนี้สามารถถูกทำให้เป็นส่วนหนึ่งแบ่งแยกออกจากสังคมจริงที่ยึดติดอยู่กับประเพณีและความคิดที่ถูกถ่ายทอดติดต่อกันมา การเข้ามาอยู่ในโลกเสมือนนี้ทำให้มีโอกาสได้แสดงตัวตน หรือแสดงความคิดเห็น โดยปราศจากการต่อต้าน หรือความลำเอียงในจิตใจ
      อาจจะกล่าวโดยสรุปว่าประเด็นการพิจารณาการใช้จริยธรรมเพื่อแก้ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ จะเป็นเรื่องของการหาสมดุลย์ในการใช้จริยธรรมในการกำหนดนโยบายสารสนเทศ อีกทั้งยังต้องเฉลยข้อกังขาในวัตถุประสงค์ซ่อนเร้นที่มากับเทคโนโลยี และท้ายสุดจะต้องคำนึงถึงความเป็นมนุษย์ อารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด ที่เกิดขึ้นจริงและสามารถถูกกำหนดขึ้นได้ในสังคมยุคสารสนเทศนี้

6. การใช้กฎหมายเพื่อแก้ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
ในการแก้ไขปัญหาสังคมโดยทั่วไปนั้น การเสริมสร้างจริยธรรมในหมู่สมาชิกในสังคมเป็นทางแก้ปัญหาที่ถูกต้องและยั่งยืนที่สุด แต่ความเป็นจริงนั้นเราไม่สามารถสร้างจริยธรรมให้กับปัจเจกบุคคลโดยทั่วถึงได้ ดังนั้นสังคมจึงได้สร้างกลไกใหม่ขึ้นไว้บังคับใช้ในรูปแบบของวัฒนธรรมประเพณีทีดีงาม อย่างไรก็ตามเมื่อสังคมมีขนาดใหญ่ขึ้น รูปแบบของปัญหาสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น จึงมีความจำเป็นจะต้องตราเป็นกฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับ ในลักษณะต่างๆ รวมถึงกฎหมายด้วย ในกรณีของเทคโนโลยีสารสนเทศนี้ก็เช่นกัน การเกิดขึ้นของอินเทอร์เน็ตทำให้รูปแบบของปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศมีความหลากหลายและยุ่งยากมากขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นที่ต้องมีกลไกในรูปของกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศไว้ใช้บังคับ ในประเทศไทยก็ได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ โดยได้มีการปฏิรูปกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่ระบุว่า รัฐจะต้อง ... พัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นและระบบสาธารณูปโภคตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วประเทศ
บรรดาอารยะประเทศต่างๆ ทั่วโลกก็ตื่นตัวและกำหนดทิศทางให้กับกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยได้มีการประกาศนโยบายที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น ประเทศญี่ปุ่นได้ประกาศนโยบาย “Toward the Age of Digital Economy” สหรัฐอเมริกาได้ประกาศนโยบาย “A Framework for Global Electronic Commerce” และสหภาพยุโรปได้ประกาศนโยบาย “A European Initiative in Electronic Commerce” เป็นต้น
นอกจากนั้นบรรดาองค์กรระหว่างประเทศต่างก็ได้เข้ามามีบทบาทในการจัดประชุมเจรจา เพื่อจัดทำนโยบายและตัวบทกฎหมายด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้นจึงถือเป็นเรื่องสำคัญที่ประเทศไทยจะต้องจัดทำกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อใช้เป็นโครงสร้างพื้นฐานในการพัฒนาประเทศ ในเรื่อง
นี้ได้ถูกดำเนินการโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ในฐานะสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นแกนกลางในการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศพื้นฐาน โดยมีกรอบสาระของกฎหมายในเรื่องต่างๆ ดังนี้
ก. กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Law) สาระของกฎหมายนี้มุ่งเน้นให้การคุ้มครองสิทธิในความเป็นส่วนตัว ไม่ให้มีการนำข้อมูลของบุคคลไปใช้ในทางมิชอบ
ข. กฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Computer Relate Crime) วัตถุประสงค์ของกฎหมายนี้มุ่งเน้นให้การคุ้มครองสังคมจากความผิดที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร
ค. กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) วัตถุประสงค์ของกฎหมายนี้มุ่งเน้นให้การคุ้มครองการทำธุรกรรมผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ง. กฎหมายการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange : EDI) วัตถุประสงค์ของกฎหมายนี้เพื่ออำนวยการให้มีการทำนิติกรรมสัญญาทางอิเล็กทรอนิกส์ได้
จ. กฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signature Law) วัตถุประสงค์ของกฎหมายนี้เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่คู่กรณีในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการลงลายมือชื่อ
ฉ. กฎหมายการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Funds Transfer)วัตถุประสงค์ของกฎหมายนี้ก็เพื่อให้การคุ้มครองผู้บริโภคด้านการโอนเงิน
ช. กฎหมายโทรคมนาคม (Telecommunication Law) วัตถุประสงค์เพื่อจัดการเปิดเสรีให้มีการแข่งขันที่เป็นธรรม และมีประสิทธิภาพ อนุญาตให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการโทรคมนาคมได้อย่างทั่วถึง
ซ. กฎหมายระหว่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศ และการค้าระหว่างประเทศที่เกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
ฌ. กฎหมายที่เกี่ยวเนื่องกับระบบอินเทอร์เน็ต
ญ. กฎหมายพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์
กรอบสาระของกฎหมายที่ถูกระบุไว้ข้างต้นนี้ ถูกใช้เป็นข้อมูลหลักในกระบวนการการจัดทำกฎหมาย ซึ่งอาจจะมีการเปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมวัตถุประสงค์ หรือยุบรวมกันในระหว่างกระบวนการจัดทำกฎหมายได้ ดังจะเห็นได้จาก พระราชบัญญัติธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ซึ่งเป็น
กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีผลใช้บังคับแล้ว ได้รวมเอากรอบสาระของกฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และกฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ไว้ด้วยกัน
พระราชบัญญัติธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 นี้เป็นประโยชน์อย่างมากทั้งต่อตัวผู้กระทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์เอง และประโยชน์ต่อเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรม ดังตัวอย่างเช่นในกรณีที่มีการระบุให้รับฟังพยานหลักฐานที่อยู่ในรูปแบบของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วย ซึ่งเมื่อกฎหมายมีผลใช้บังคับแล้วทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบ จะต้องปรับตัวและเรียนรู้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องด้วย การบังคับใช้กฎหมายจึงจะสำเร็จประสงค์ตามเจตนารมย์ที่ตั้งไว้
การพัฒนากฎหมายเพื่อรองรับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ มีความจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจในตัวเทคโนโลยีสารสนเทศ และศึกษาถึงธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม จริยธรรม ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนศึกษาผลกระทบ และปัญหาอุปสรรคต่างๆ ให้ถี่ถ้วน เสียก่อน และน่าเสียดายที่ไม่พบว่ามีสาระของกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศฉบับใดที่มุ่งเน้นที่จะแก้ปัญหาสังคม อันมีเหตุมาจากเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยส่วนใหญ่ไปมุ่งเน้นในด้านการทำธุรกิจเป็นสำคัญ

7. กรณีศึกษาอาชญากรรมและกฎหมายไอที (http://www.lawyerthai.com/articles/it/006.php )

กรณีที่ 1 : นายจ้างหรือผู้บังคับบัญชา เปิด e-mail ลูกจ้างหรือผู้ใต้บังคับบัญชาอ่านได้หรือไม่?
ในการใช้งาน e-mail ภายในองค์กรนั้น จะมีคำถามว่า ถ้าองค์กรนั้น ๆ มีการกำหนดUser name และ Password ให้กับคนในองค์กร แล้วถ้านายจ้างหรือผู้บังคับบัญชารู้ User name และ Password ของคนในองค์กรแล้ว นายจ้างหรือผู้บังคับบัญชามีสามารถเปิดอ่านe-mail ของลูกจ้างได้หรือไม่ ถ้าในประเทศสหรัฐอเมริกา มีกฎหมายกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่า นายจ้างหรือผู้บังคับบัญชาขององค์กรนั้น ๆ สามารถเปิดดูและตรวจสอบ e-mailของลูกจ้างได้รวมทั้งสามารถดูแฟ้มข้อมูลต่าง ๆ ในฮาร์ดดิสก์คอมพิวเตอร์ของบริษัทได้ หากเป็น e-mail ที่เป็นขององค์กร เพราะเป็น e-mail สำหรับการปฏิบัติงาน แต่หากเป็น e-mail อื่นที่ไม่ใช่ขององค์กร นายจ้างหรือผู้บังคับบัญชาไม่ได้รับอนุญาตให้เปิดอ่าน หากนายจ้างหรือผู้บังคับบัญชาละเมิดสิทธิ์ ลูกจ้างสมารถฟ้องร้องนายจ้างหรือผู้บังคับบัญชาให้ชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่งได้

กรณีที่ 2 : การ Copy รูปภาพ/ข้อความบนเว็บไซต์ของผู้อื่นมาใช้ เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ทุกกรณีหรือเปล่า?
หากต้องทำการ copy รูปภาพหรือข้อความบนเว็บไซต์ของผู้อื่นมาใช้งาน จำเป็นต้องขออนุญาตเจ้าของเสียก่อน เพราะหากนำมาใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตจะถือว่าละเมิดลิขสิทธิ์ผิดกฎหมาย หากนำไปใช้เพื่อการค้าอาจถูกฟ้องเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญาได้ อย่างไรก็ตามก็มีข้อยกเว้นสำหรับกรณีเพื่อการศึกษา โดยต้องมีการอ้างอิงและขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์

กรณีที่ 3 การหมิ่นประมาททางอินเทอร์เน็ต สามารถฟ้องร้องเอาผิดได้หรือไม่?
หากมีการหมิ่นประมาทบุคคลผ่านทางอินเทอร์เน็ต สามารถฟ้องร้องได้ทั้งคดีอาญา และคดีแพ่ง ซึ่งตามกฎหมาย การหมิ่นประมาททางแพ่งหมายถึง “ การกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนความจริง และการกล่าวหรือไขข่าวนั้นทำให้เกิดความเสียหายแก่ชื่อเสียงเกียรติคุณ ทางทำมาหาได้หรือทางเจริญของบุคคลอื่น ซึ่งแม้ว่าผู้ที่หมิ่นประมาทจะไม่รู้ว่าข้อความที่ตนกล่าวหรือไขข่าวนั้นไม่จริง แต่หากว่าควรจะรู้ได้ก็ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น
ส่วนใหญ่คดีหมิ่นประมาทจะฟ้องร้องกันเป็นคดีแพ่ง และเรียกค่าเสียหายกันมากๆ เพื่อให้จำเลยเข็ดหลาบ คดีแพ่งเรื่องหมิ่นประมาท ในประเทศไทยยังมีประเด็นที่น่าสนใจคือ เรื่องศาลที่จะฟ้องคดี คือโจทก์สามารถฟ้องคดีได้ที่ศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขต หรือศาลที่เป็นที่เกิดของเหตุในการฟ้องคดี
ทางปฏิบัติที่เกิดขึ้นการหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาหนังสือพิมพ์นั้น เนื่องจาก หนังสือพิมพ์มีการส่งไปขายทั่วประเทศ ฝ่ายผู้เสียหาย ซึ่งมักเป็นนักการเมือง อาจถือว่าความผิดเกิดขึ้นทั่วประเทศ จึงทำการตระเวนไปฟ้องตามศาลต่าง ๆ ทั่วประเทศ ส่งผลให้จำเลยต้องตามไปแก้คดี

กรณีที่ 4 : การทำ Hyperlink ยังไงไม่ให้ละเมิดลิขสิทธิ์?
การอ้างอิงเว็บไซต์ของผู้อื่น มาใส่ไว้ในเว็บของเรา มีโอกาสละเมิดลิขสิทธิ์ หากมีการมองว่าเป็นการทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ แต่ถ้าการเชื่อมโยงนั้นเป็นการเชื่อมโยงต่อไปยังหน้าแรกของเว็บผู้อื่นก็สามารถทำได้แต่ควรขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ให้เรียบร้อย หากเป็นการเชื่อมโยงลึกลงไปถึงเนื้อหาส่วนอื่นของเว็บผู้อื่นจะถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ ในกรณีที่ไม่ต้องการให้ใครนำเว็บของเราไปเชื่อมโยงอาจจะระบุไว้ที่เว็บเลยว่า ไม่อนุญาตจะทำให้ผู้ที่เข้ามาเชื่อมโยง หากยังมีการละเมิดสิทธิ์ก็จะมีความผิดโดยไม่ต้องตีความ

กรณีที่ 5 : โหลดโปรแกรมหรือเพลงทางอินเทอร์เน็ตผิดกฎหมายหรือเปล่า?
การ Download โปรแกรมทางอินเทอร์เน็ตมาใช้งานแบบถูกต้องตามกฎหมายโดยไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ ก็ต่อเมื่อโปรแกรมที่ผู้ใช้ Download มาใช้นั้น ถูกระบุว่าเป็นประเภทFreeware, Shareware
สำหรับการโหลดเพลงทางอินเทอร์เน็ตสามารถทำได้โดยไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หากได้รับอนุญาต แต่โดยทั่วไปแล้วค่ายเพลงมักจะไม่อนุญาต ยกเว้นจะทำเพื่อการค้า ส่วนการ Upload เพลงขึ้นบนอินเทอร์เน็ตให้คนทั่วไปโหลดได้ฟรี ๆ เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นคดีอาญา













เอกสารอ้างอิง

พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544
มาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในการประกอบธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (เวอร์ชัน1) ประจำปี 2547.
มาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในการประกอบธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (เวอร์ชัน1.5) ประจำปี        2548.
http://www.lawyerthai.com/articles/it/006.php

























แบบฝึกหัด
บทที่ 1 (กิจกรรม1)                                                                           กลุ่มที่เรียน..........
รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน                            รหัสวิชา 0026 008
ชื่อ สกุล.............................................................................................................รหัส.....................................
1. ข้อมูลหมายถึง..............................................................................................................................................
2. ข้อมูลปฐมภูมิ คือ .........................................................................................................................................
ยกตัวอย่างประกอบ..........................................................................................................................................
3. ข้อมูลทุติยภูมิ คือ ........................................................................................................................................
ยกตัวอย่างประกอบ.........................................................................................................................................
4. สารสนเทศ หมายถึง....................................................................................................................................
........................................................................................................................................................................
5. จงอธิบายประเภทของสารสนเทศ...............................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................................
จงเติมในช่องว่างว่าข้อใดเป็นข้อมูล หรือสารสนเทศ
6. ข้อเท็จจริงของสิ่งต่าง ๆ ที่อาจเป็นตัวเลข ข้อความ รูปภาพ เสียง คือ ..........................................................
7. ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผล เป็น..................................................................................................................
8. ส่วนสูงของเพื่อนที่ถามจากเพื่อนแต่ละคน เป็น ..........................................................................................
9. ผลของการลงทะเบียน เป็น .........................................................................................................................
10. กราฟแสดงจำนวนนิสิตในห้องเรียนวิชาวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวันSection วันอังคาร เป็น........................................................................................................................................................